หนึ่งสิ่งที่สำคัญต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตคือการนอนหลับพักผ่อน ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับจะพักผ่อนไม่เพียงพอและผู้ที่นอนน้อยกจะมีปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อร่างกายและสภาวะอารมณ์ได้ การนอนหลับสนิททั้งคืนแสดงถึงสภาพความเป็นอยู่ที่ดี  

การนอนหลับมีระยะการนอนที่แตกต่างกัน โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ 

1 ระยะหลับธรรมดา การนอนหลับระยะนี้มีส่วนสำคัญมาก

คือระยะที่ร่างกายเปลี่ยนจากภาวะตื่นตัวเข้าสู่การนอนหลับลึก ถือเป็นระยะการนอนหลับขั้นแรก ผู้คนมักไม่รู้สึกตัวว่ากำลังหลับอยู และมักนอนหลับลึกในช่วงครึ่งแรกตอนกลางคืน เป็นช่วงที่ร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมนและฮอร์โมนอื่น ๆ ออกมา ช่วงนี้ร่างกายจะซ่อมแซมเนื้อเยื่อ สร้างกระดูกและกล้ามเนื้อ เสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่ระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย 


2 ระยะหลับฝัน 

ผู้คนจะเข้าสู่การนอนระยะหลับฝันหลังหลับไปได้ 90 นาที ช่วงนี้เป็นช่วงที่ปลุกให้ตื่นได้ยาก ถ้าคนที่ถูกปลุกจากการนอนช่วงนี้จะล้มตัวลงนอนหลับอย่างรวดเร็ว ระยะหลับฝันเป็นช่วงที่สมองทำงานหนักเหมือนตอนตื่น เพราะสมองมีการจัดการข้อมูลต่าง ๆ จัดระเบียบข้อมูลทำให้เกิดเป็นความทรงจำ ความเข้าใจ และข้อมูลอื่น ๆ ที่จำเป็นในชีวิต


อายุที่เพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดการนอนน้อยลงและเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง

การวิจัยพบว่าเมื่อคุณอายุเพิ่มมากขึ้น ก็ทำให้ระยะเวลาการนอนหลับเปลี่ยนไปตามอายุ โดยผู้ที่อายุมากขึ้นจะหลับลึกน้อยลง หลับได้ยาก และจะตื่นได้ง่าย แล้วถ้าคุณนอนอย่างน้อย 5 ชั่วโมงต่อคืนรวมถึงการนอนกระสับกระส่าย ทำให้เพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเรื้อรังตั้งแต่ 2 โรคขึ้นไป

 

การศึกษานี้ ได้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร PLOS Medicineโดยการติดตามทั้งชายและหญิงจำนวน 7,000 คน จากข้าราชการพลเรือนของอังกฤษ ติดตามเป็นระยะเวลากว่า 30 ปี ถูกวัดหกครั้งระหว่างปี 2528-2559 พบว่าปริมาณการนอนหลับที่สั้นลงมีส่วนทำให้เป็นโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น 


ในชีวิตจริงคนเราเมื่ออายุมากขึ้น ก็มีโรคหลายอย่าง โดยผู้สูงอายุกว่าครึ่งคาดว่าจะมีโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ มะเร็ง โรคข้ออักเสบ โรคซึมเศร้า และโรคเบาหวาน โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนา  นอกจากนี้นักวิจัยยังพบว่าการนอนหลับที่ถูกรบกวนนั้น มีส่วนเชื่อมโยงกับหลายโรค


อย่างไรก็ตามยังมีการพบว่า ผู้คนที่นอนนานกว่า 9 ชั่วโมงมีส่วนเชื่อมโยงกับโรคเรื้อรัง เฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยอายุ 60 - 70 ปี เนื่องมาจากการใช้ยา ที่มาจากโรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ และภาวะซึมเศร้า


แนวทางแก้ปัญหาการนอนน้อย

1 เข้านอนตรงเวลา  เป็นการช่วยปรับสมองและปรับนาฬิกาชีวิตของร่างกายให้คุ้นชิน

2 ควรรับประทานผักอย่างน้อย 5 หน่วยบริโภคทุกวัน 

3  ผู้ที่มีอายุ 18-64 ปี ควรออกกำลังกายในระดับปานกลาง อย่างน้อยวันละ ประมาณ 30 นาที  3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ 

4 หลีกเลี่ยงอาหาร, เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน แอลกอฮอล์ นิโคติน รวมทั้งพฤติกรรมที่ทำให้นอนไม่หลับ



ระยะเวลาการนอนที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย

การการนอนหลับพักผ่อนของแต่ละคนที่เหมาะสมมากน้อยไม่เท่ากัน และไม่มีหลักเกณฑ์การนอนหลับที่จำเป็นและเหมาะสมกับทุกคนเหมือนกันอย่างชัดเจน 

อย่างไรก็ตามแต่ละช่วงวัยก็ควรนอนหลับพักผ่อนในจำนวนระยะเวลาที่เหมาะสม คือ

ทารก นอนหลับวันละ 16-18 ชั่วโมง

เด็กเล็กก่อนวัยเรียน นอนหลับวันละ 10-12 ชั่วโมง

เด็กโตที่เข้าเรียนและวัยรุ่น นอนหลับอย่างน้อย 9 ชั่วโมง

ผู้ใหญ่ นอนหลับ 7-9 ชั่วโมง

สตรีมีครรภ์ที่อายุครรภ์อ่อน นอนหลับมากกว่าที่เคยนอนปกติ



ที่มา

www.pobpad.com

https://www.abc.net.au/news/health/2022-10-19/sleep-duration-linked-with-chronic-illness-study-finds/101542900